วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การบ้าน บทที่ 3


  1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเลคทรอนิคส์แบ่งได้ 3 วิธี คือ                                                         1.1 ขั้นเตรียมข้อมูล (input) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่ให้สะดวกต่อการประมวลผลมี 4 วิธี
                  -การลงรหัส
                  -การตรวจสอบ
                  -การจำแนก
                  -การบันทึกข้อมูลลงสื่อ


           1.2 ขั้นตอนการประมวลผล (Processing) คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ใน คอมพิวเตอร์ ซึ่งป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
                -การคำนวณ
                -การเรียงลำดับข้อมูล
                -การสรุป
                -การเปรียบเทียบ


           1.3 ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์


2. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ


  1. บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลเลขฐาน 2 คือ 0,1
  2. ไบต์ (Byte) เรียกว่า ตัวอักขระ ,ตัวอักษร คือการนำบิตมารวมกัน
  3. ฟิลด์ (Flied) คือ การนำไบต์หลายๆไบต์รวมกันเป็น เรียกว่าเขตข้อมูล
  4. เรคคอร์ด (Record) คือ การนำเอาฟิลด์หลายๆฟิลด์มารวมกัน เรียกว่าระเบียน
  5. ไฟล์ (Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
  6. ฐานข้อมูล (Database) คือ การนำไฟล์หลายๆ ไฟล์มารวมกัน เรียกว่าฐานข้อมูล
     
3. หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีระบบใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
     -รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ 3 แบบ คือ
     1. แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model)
     2. แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network Database Model)
     3. แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)
     - ระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรคือ
     1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน
     2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล
     3. รักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
     4. กำหนดระบบรักษาความปลอดภัย,กำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
     5. เกิดความอิสระของข้อมูล 


4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์


  1. การประมวลผลแบบแบช (Batch  Processing)   คือ การประมวลผลข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมไว้เป็นชุดข้อมูล  แล้วจึงนำส่งข้อมูลเหล่านั้นไปทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมกันทั้งหมดทีเดียวซึ่งระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เพื่อรอการประมวลผล  อาจจะเป็นรายวัน  รายสัปดาห์  รายเดือน  หรือรายปี  เป็นต้น  เช่นการประมวลผลการเสียภาษีประจำปี   การคิดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร
  2. การประมวลผลแบบเรียลไทม์  (Real - Time Processing)  คือ  การประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ  บางทีอาจจะเรียกว่า  การประมวลผลแบบ  Transaction  Processing   เช่น  ระบบเงินฝาก  -  ถอนเงินด้วย  ATM  ของธนาคาร  ระบบสำรองที่นั่งในเครื่องบิน  ระบบการตัดยอดสินค้าคงคลังทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า  เป็นต้น
            การประมวลผลข้อมูลทั้งสองวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของระบบว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีหรือสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นกลุ่มก่อนแล้วจึงทำการประมวลผลพร้อมกันทีเดียว  เช่น  การประมวลผลการเสียภาษี  จะทำการประมวลผล  1  ปีต่อครั้ง  เนื่องจากการคิดภาษีเป็นการคิดจากรายได้ตลอดปี แต่การตัดยอดบัญชีเงินฝากของลูกค้าจำเป็นที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการฝากหรือถอนเงิน  เพื่อทราบยอดคงเหลือที่ลูกค้ามีอยู่    ปัจจุบัน  เป็นต้น


 

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การบ้านบทที่ 2


1.จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้
Hardware
เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ 3 ส่วนที่สำคัญ คือ
1.อุปกรณ์รับข้อมูล ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลางผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard), เมาส์ (Mouse) , จอยสติกส์(Joy Stick),กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera),เครื่องอ่านบาร์โค๊ด(Barcode Reader),สแกนเนอร์(Scanner)
2.อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล คือการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผลคือ
§ หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ประกอบด้วย ROM (Read Only Memory), RAM(Random Access Memory)
§ หน่วยความจำสำรอง (Second Memory) เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk),ซีดี (Compact Disk -CD),รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) , การ์ดเมมโมรี (Memory Card)เป็นต้น
3.อุปกรณ์แสดงผล ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ เช่น จอภาพ (Monitor),เครื่องพิมพ์ (Printer), ลำโพง (Speaker)
Software
เป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง แบ่งเป็น
1. ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นระบบปฏิบัติการหรือควบคุมเครื่อง
2. ยูติลิตี้ โปรแกรมเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง
3. ดีไวท์ไดร์ฟเวอร์ โปรแกรมไดร์ฟเวอร์ของอุปกรณ์ต่อพ่วง
4. ตัวแปลภาษา-โปรแกรมแปลภาษาเครื่องให้เป็นภาษาระดับสูง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์สาหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สาหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สาหรับงานธนาคารการฝากถอนเงินSoftware สาหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
โปรแกรม Anti-Virus ซอฟต์แวร์สาหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทาเอกสารรายงาน จัดทาแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
People ware
หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4ระดับ ดังนี้
1.ผู้จัดการระบบ (System Managerคือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2.นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3.โปรแกรมเมอร์ (Programmer)คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4.ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทางานได้ตามที่ต้องการ
Data
คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การ ดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
Information
คือสิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนามาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนาเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย
2.หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่Hardware, Software และ People ware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย
โรงเรียนกวดวิชา
Hardware
ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคลื่นเสียง (Sound wave)หรือคลื่นอากาศจากแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เสียงพูด เสียงเพลง เสียงดนตรี เป็นต้น
ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์หน่วยแสดงผลในรูปของเสียง เช่น เสียงพูดเสียงดนตรี มีในคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบมัลติมี (Multimedia)
เครื่องพิมพ์(Printer) เป็นอุปกรณ์หน่วยแสดงผลโดยการพิมพ์ข้อมูลออกเป็นตัวอักษร ตัวเลข และ รูปภาพ
สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย
กล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกข้อมูล ข้อมูลภาพที่ได้สามารถถ่ายลงสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกดูได้ทันที หรือจะใช้โปรแกรมช่วยตกแต่งภาพให้ดูสวยงามขึ้นก็ได้
จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่เป็นภาพ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น ชนิด คือ จอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube) และ จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display)
 Pointer เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสงเพื่อชี้ในจุดที่ต้องการโดยจะควบคุมกับการเลื่อน Power Point
เครื่องพีซี จะทำหน้าที่จัดการข้อมูลภายในร้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารเงิน บริหารเวลาเรียน
กล้องวงจรปิด ไว้ตรวจสอบบันทึกระบบความปลอดภัย ภายในโรงเรียนกวดวิชา
Software
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Softwareเช่น ซอฟต์แวร์ระบบบัญชี ระบบเช็คเวลาเรียน
People ware
พนักงานประจำร้านบุคคลากรในด้านงานคอมพิวเตอร์ สำหรับการออกในเสร็จ จัดตารางเรียน
3.ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ
Data
จำนวนนักเรียน (คน)
ปีการศึกษา
ชาย
หญิง
2554
75
65
2555
68
61
2556
65
72
2557
72
62
Information
Information
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมยกตัวอย่าง
        เทคโนโลยี (Technology)  หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
        ตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
·         ไปเที่ยวต้องใช้กล้องถ่ายรูปเพื่อเก็บภาพสวยเอาไว้
·         ออกนอกบ้านต้องมีโทรศัพท์มือถือไปด้วยเพื่อความสะดวก
·         ผ้าเครื่องนอนมีหลายชิ้นและใหญ่มากต้องใช้เครื่องซักผ้าจะได้เบาแรง
·         มีเครื่องฟอกอากาศไว้ในห้องนอน เพื่อช่วยให้กรองฝุ่นจะได้นอนหลับสบาย
·         กรองน้ำจากบ้านไปดื่มเองจะได้ไม่ต้องไปซื้อข้างนอก
สารสนเทศ (Information)  หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บข้อมูลและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่ เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
ตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
·        การจองตั๋วเครื่องบิน
·        การกดเงินจากตู้ ATM
·        การซื้อของผ่านบัตรเครดิต
·        ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ
·        การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบดาวเทียม
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)  หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
ตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
·        การซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
·        การโอนเงินผ่านตู้ ATM
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน ตัวอย่าง เช่น การเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในแต่ละวันเพื่อจะนำไปใช้ในการแสดงจำนวน ลักษณะการเกิดเหตุ ซึ่งจะนำไปใช้งานหรือใช้ประโยชน์ในภายหลัง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และคอมพิวเตอร์
ฐานความรู้ (Knowledge base) คือ สารสนเทศได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้ ตัวอย่าง เช่น การสืบค้นข้อมูลหรือความรู้ต่างๆ ผ่านทาง เว็บไซต์ GOOGLE.COM.

โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
1.ระดับล่างสุด (Transaction Processing System)  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลซึ่งเรียกว่าระบบประมวลผลรายการเช่นการลงเวลาการทำงาน การขอลาพักร้อนใบระบบของบริษัท
2.ระดับที่สอง (Operation Control) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำ สำหรับผู้บริหารระดับล่าง เช่น การอนุมัติการลาพักร้อนของพนักงานในบริษัท
3.ระดับที่สาม (Management Control) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนงานระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือแผนยุทธวิธีให้ดำเนินไปตามแผนระยะสั้นนั้นได้ เช่น การตั้ง KPI ให้กับพนักงานในบริษัทเพื่อให้ทำตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
4.ระดับที่สี่ หรือ (Strategic Planning) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนระยะยาวหรือแผนกลยุทธ์ เช่น ในอีก ปี ข้างหน้า องค์กรจะขับเคลื่อนธุรกิจไปด้านใด

วิวัฒนาการของเทคโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

1. ยุคการประมวลผลข้อมูล (Data Processing Era) เป็นยุคแรกๆของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือ เพื่อคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง เช่น การลงบันทึกข้อมูลเวลาการทำงานของพนักงาน
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหาร เช่น การใช้เครื่อง Scan บัตรพนักงานเพื่อตรวจเช็คการมาทำงานและประมวลผลสรุปรายเดือน
3.ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management System : IRMS) ยุคที่ 3 เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่ช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ เช่น จากข้อมูลการมาทำงานจะบ่งบอกทิศทางหรือแนวโน้มความตั้งใจของพนักงานเพื่อหาวิธีแก้ไขได้

4.ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หรือยุคไอที ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ รวมเรียกว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557



เทคโนโลยี (Technology) คือ  การใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เครื่องมือ หลักการ ความคิด และเทคนิคต่างๆที่มีการจัดวางระเบียบไว้แล้วมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้งานที่ทำนั้น เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เดิมบริษัทใช้เทคโครกราฟมีลักษณะเป็นจานกระดาษในการคำนวนหาระยะทางในการขนส่งสินค้าของบริษัท ในปัจจุบันเริ่มนำเอาระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก หรือ GPS ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System มาปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูล ทีผ่านการจัดเก็บ รวบรวม และเรียบเรียง เพื่อให้เกิดความสะดวกเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ใช้งาน เช่น ข้อมูลจาก ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก หรือ GPS ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลในเรื่องของ ระยะทางที่วิ่ง/วัน/เดือน ปริมาณการใช้น้ำมัน/วัน/เดือน เป็นต้น เพื่อหาระยะทางวิ่งที่ใกล้และปลอดภัยที่สุด เป็นการช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)  คือ  การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูล ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโลโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยเกี่ยวกับการสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น การติดตามด้วยระบบ GPS สารมารถดูผ่านคอมพิวเตอร์ได้ สามารถดูระยะทางว่าเหลืออีกกี่กิโลเมตรจะถึงโรงงานลูกค้า เป็นต้น

ข้อมูล (Data)  คือ  ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจและสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น ก่อนลงสินค้า จะมีการโทรแจ้งน้ำหนักการชั่งทุกครั้งที่น้ำหนักไม่ตรงกับใบชั่งที่ทางบริษัทออกให้กับคนขับรถ และ หลังลงสินค้า หากน้ำหนักที่ลงไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบน้ำหนักของทางบริษัท ก็จะทำการเก็บข้อมูลของเครื่องชั่งลูกค้าไว้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบในเรื่องส่วนต่างน้ำหนักสินค้า

ฐานความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชียวชาญ และมีคุณค่า เพื่อใช้แก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน่างๆได้ เช่น ในการชั่งน้ำหนักสินค้าแต่ละที่ส่วนใหญ่บริษัทจะเสียผลประโยชน์ จึงได้นำเอาข้อมูลของเครื่องชั่งแต่ละที่มาวิเคราะห์เพื่อไม่ให้บริษัทเสียผลประโยชน์ และเป็นการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและปริมาณของสินค้าด้วย จึงให้คนขับรถสังเกตตำแหน่งของการจอดรถบนตราชั่งทุกครั้ง เพื่อหาจุดจอดที่ Balance เมื่อได้จุดจอดที่แน่นอนแล้วก็ทำการแจ้งคนขับที่เหลือให้จอดในตำแหน่งทีใกล้เคียงที่สุดต่อไป และทำบันทึกเป็นไว้ เป็นต้น

โครงสร้างสารสนเทศ ประกอบด้วย

 
ระดับล่างสุด  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์กร เช่น การบันทึกจำนวนเบิกของ-จ่ายของ การบันทึกเกี่ยวกับการเดินทางส่งสินค้าของรถ เป็นต้น

 
ระดับสอง  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวางแผน-ตัดสินใจ และควบคุมสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน เช่น การวางแผนเพื่อนำรถเข้าเช็คตามระยะที่กำหนดไว้ในแต่ละครั้ง เป็นต้น

 
ระดับสาม  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสื่อสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลางเพื่อใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น เช่นสื่อสารสนเทศที่เป็นรายงานสุดเป้าหมายประจำเดือน เป็นต้น

 
ระดับที่สี่  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสื่อสารสนเทศำหรับผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนในระยะยาว เช่น สื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า แนวโน้มด้านการตลาด สถานะคู่แข่งการตลาด เป็นต้น

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ  ประกอบด้วย

 
ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงค์ คือ การคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวัน เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่น การเก็บรักษาบันทึกต่างๆ เป็นต้น

 
ยุคระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ การติดตามผล และวิเคราะห์งานของผู้บริหาร เช่น รายงานยอดการจัดส่งสินค้า เป็นต้น

 
ยุคระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย คือ ความสำเร็จ

 
ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นการใช้ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยเน้นความคิดของการให้บริการสารสเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นต้น